วันพฤหัสบดีที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เพื่อนบ้านนกลุ่มอาเซียน

พื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน 10 ประเทศ

ประเทศไทย

    1.ที่ตั้งอาณาเขต
     ที่ตั้งของประเทศไทย ตั้งอยู่ในคาบสมุทรอินโดจีน  อยู่ในทวีปเอเซียในดินแดนที่เรียกว่า "ภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้"
ทิศเหนือ อยู่ที่ละติจูด 20 องศา 27 ลิบดาเหนือ
ทิศใต้ อยู่ที่ละติจูด 5 องศา 37 ลิบดาเหนือ
ทิศตะวันออก อยู่ที่ละติจูด 105 องศา 37 ลิบดาตะวันออก
ทิศตะวันตก อยู่ที่ละติจูด 97 องศา 22 ลิบตาตะวันออก
    2. พื้นที่
     ขนาด ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 513,115.06 ตารางกิโลเมตร (198,454 ตารางไมล์) มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ รองจากอินโดนีเซียและพม่า ส่วนที่กว้างที่สุดของไทย มีความยาวประมาณ 750 กิโลเมตร คือ จากด่านเจดีย์สามองค์ อำเภอสังขละบุรีจังหวัดกาญจนบุรี  ถึงช่องเม็ก อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี  สำหรับส่วนที่แคบที่สุดมีความกว้างประมาณ 10.6 กิโลเมตร อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และความยาวจากเหนือสุดจากอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ถึงอำเภอเบตง จังหวัดยะลา มีความยาวประมาณ 1,640 กิโลเมตร
    3. ลักษณะภูมิประเทศ
          ลักษณะภูมิประเทศของไทย แบ่งออกได้เป็น 6  ภาค
1.  ภาคเหนือ พื้นที่ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบหุบเขา ที่สำคัญคือ ภูเขา แดนลาว ภูเขาหลวงพระบาง ภูเขาถนนธงชัย ภูเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาขุนตาล ภูเขาผีปันน้ำ เป็นที่เกิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย เช่น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำป่าสัก เป็นที่ตั้งของเมืองสำคัญ เช่น เชียงใหม่ ลำปาง เชียงราย เป็นต้น แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ไหนลงสู่ภาคกลางมารวมกันที่ปากน้ำโพ จังหวัดนครสวรรค์ เป็นจุดเริ่มต้นของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแม่น้ำที่สำคัญที่สุดเปรียบเสมือน "เส้นเลือดใหญ่" ของประเทศ
2.  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นบริเวณที่มีพื้นที่กว้างขวางมาก มีพื้นที่ถึง 170,000 ตร.กม. หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พื้นที่ทางด้านตะวันตกเป็นเทือกเขาเพชรบูรณ์ ทอดเชื่อมกับเทือกเขาดงพญาเย็น ทำให้เกิด "ภู" น้อยใหญ่ เช่น ภูกระดึง ภูหลวง ภูเขียว ภูเรือ ทางทิศใต้มีเทือกเขาสันกำแพงและเทือกเขาพนมดงรัก เป็นที่เกิดของแม่น้ำ ลำธารสำคัญของภาคอีสานหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำมูล แม่น้ำชี ลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำโดมน้อย ลำโดมใหญ่ เป็นต้น พื้นที่ตอนกลางของภาคมีลักษณะคล้ายเกาะมีที่ราบกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป ลักษณะดินเป็นดินปนทราย ไม่อุ้มน้ำ น้ำซึมผ่านได้รวดเร็ว ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห้งแล้งมากในฤดูแล้ง
3.  ภาคกลาง เป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน ซึ่งแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำสาขาต่าง ๆ พัดพามา ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีการปลูกข้าวมากที่สุดของประเทศ เรียกได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของไทย และเป็นเขตที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด
4.  ภาคตะวันออก ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและเนินเขาลดลงสู่ที่ราบชายฝั่งทะเล มีแม่น้ำสายสั้น ๆ ซึ่งเกิดจากเทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด ไหลลงสู่อ่าวไทย
   5. ภาคตะวันตก มีลักษณะเป็นเทือกเขาและหุบเขา แต่มีความสูงไม่มากนัก เทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาถนนธงชัย ที่ราบหุบเขาที่สำคัญในภาคนี้ คือ ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือ แควน้อยและแควใหญ่ ไหลลงสู่อ่าวไทยที่จังหวัดสมุทรสงคราม
   6. ภาคใต้ มีลัษณะเป็นมหาสมุทรแคบ ๆ ตั้งอยู่ระหว่างอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ตอนกลางของคาบสมุทรมีเทือกเขาติดต่อกันเป็นแนวยาวไปจนจรดพรมแดนมาเลเซีย ได้แก่ เทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขานครศรีธรรมราช เทือกเขาสันกาลาคีรี เทือกเขาภูเก็ต ทำให้แบ่งพื้นที่ของภาคใต้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันตก
และที่ราบชายฝั่งทะเลตะวันออก แม่น้ำในภูมิภาคนี้เป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ หลายสายที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปราณบุรี แม่น้ำกระบี่ แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตรัง และแม่น้ำโกลก
4. ลักษณะภูมิอากาศ
ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
1.  มรสุมตะวันตกเฉียงใต้
มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดีอนพฤษภาคมถึง กลางเดือนตุลาคม
โดยมีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็น ลมตะวันตกเฉียงใต้เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร มรสุมนี้จะนำมวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดีย มาสู่ประเทศไทย ทำให้มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเล และเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น
     2. มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
           หลังจากหมดอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว ประมาณกลางเดือนตุลาคมจะมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ มรสุมนี้มีแหล่งกำเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือแถบประเทศมองโกเลียและจีน จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากแหล่งกำเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก เนื่องจากมรสุมนี้นำความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
      ฤดูกาล
       ประเทศไทยโดยทั่ว ๆ ไปสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู ดังนี้
     - ฤดูร้อน  ระหว่างกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม
     - ฤดูฝนระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม
     - ฤดูหนาว ระหว่างกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์
5.  เมืองหลวง
กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง พื้นที่เมืองขนาดใหญ่ที่สุดและเป็นเมืองหลักที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญก้าวหน้าด้านอื่น ๆ ของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตรกรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย โดยมิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่า กรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบการเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง
         ใน พ.ศ. 2552 กรุงเทพมหานครเป็นเมืองค่าครองชีพสูงสุดอันดับ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากสิงคโปร์กรุงเทพมหานครมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น พระบรมมหาราชวัง พระที่นั่งวิมานเมฆและวัดต่าง ๆ ซึ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศประมาณ 11 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดรองจากปารีสและลอนดอน
    6. ประชากร  
          จำนวนประชากรประเทศไทย  64.7 ล้านคน (2551) ตามการประมาณของ CIA The World Factbook เมื่อปี พ.ศ. 2553 ประชากรทั้งหมดของประเทศไทยมีประมาณ 66,404,688 คน ประกอบด้วยไทยสยามประมาณร้อยละ 75 ไทยเชื้อสายจีนร้อยละ 14 ไทยเชื้อสายมลายูร้อยละ 3 ประเทศไทยประสบปัญหาอัตราการเกิดต่ำกว่ามาตรฐาน โดยที่ในปี พ.ศ. 2551 อัตราการเกิดของประชากรอยู่ที่ 1.5% และมีแนวโน้มที่จะลดลงเหลือเพียง 1.45% ในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งมีสาเหตุมาจากอัตราการคุมกำเนิดที่เพิ่มสูงขึ้น โดยคิดเป็น 81% ในปี พ.ศ. 2551  ซึ่งเมื่อประกอบกับอัตราการตายที่ลดลงในศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยมากขึ้นในอนาคต
         ในประเทศไทยถือได้ว่ามีความหลากหลายทางเชื้อชาติ โดยมีทั้ง ชาวไทย ชาวไทยเชื้อสายลาว ชาวไทยเชื้อสายมอญ ชาวไทยเชื้อสายเขมร รวมไปถึงกลุ่มชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยเชื้อสายมลายู ชาวชวา (แขกแพ) ชาวจาม (แขกจาม) ชาวเวียด ชาวพม่า และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ เช่น ชาวกะเหรี่ยง ลีซอ ชาวม้ง ส่วย เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2553 ตามข้อมูลของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประเทศไทยมีแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายอยู่ 1.4 ล้านคน โดยมีอีกเท่าตัวที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ตามข้อมูลการอพยพระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2548 ประเทศไทยมีผู้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่จำนวน 1.05 ล้านคน คิดเป็น 1.6% ของจำนวนประชากร
         ประเทศไทยมีการแบ่งแยกเชื้อชาติและชาติพันธุ์น้อยกว่าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านมาก โดยสนับสนุนความเป็นอิสระในแต่ละเชื้อชาติ ได้มีนักวิชาการตะวันตกเขียนเอาไว้ว่า ประเทศไทยเป็น "สังคมที่มีโครงสร้างอย่างหลวม ๆ
    7. การเมืองการปกครอง : ระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
      * พระมหากษัตริย์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร (His Majesty King Bhumibol Adulyadej) * นายกรัฐมนตรี คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (Mr.Abhisit Vejjajiva) (17 ธันวาคม พ..2551)
รัฐสภาไทย
    8. ศาสนา
        ประมาณร้อยละ 95 ของประชากรไทยนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติโดยพฤตินัย แม้ว่ายังจะไม่มีการบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก็ตาม ศาสนาอิสลามประมาณร้อยละ 4 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวไทยทางภาคใต้ตอนล่าง ศาสนาคริสต์และศาสนาอื่นประมาณร้อยละ 1
    9. ภาษา
      ประเทศไทยมีภาษาไทยเป็นภาษาทางการ และเป็นภาษาหลักที่ใช้ติดต่อสื่อสาร การศึกษาและเป็นภาษาพูดที่ใช้กันทั่วประเทศ โดยใช้อักษรไทยเป็นรูปแบบมาตรฐานในการเขียน ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นอย่างเป็นทางการในสมัยสุโขทัยโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช นอกเหนือจากภาษาไทยกลางแล้ว ภาษาไทยสำเนียงอื่นยังมีการใช้งานในแต่ละภูมิภาคเช่น ภาษาไทยถิ่นเหนือในภาคเหนือ ภาษาไทยถิ่นใต้ในภาคใต้ และภาษาไทยถิ่นอีสานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกเหนือจากภาษาไทยแล้ว ในประเทศไทยยังมีการใช้งานภาษาของชนกลุ่มน้อยเช่น ภาษาจีนโดยเฉพาะสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาลาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งบางครั้งนิยามว่าภาษาลาวสำเนียงไทย ภาษามลายูปัตตานีทางภาคใต้ นอกจากนี้ก็มีภาษาอื่นเช่น ภาษากวย ภาษากะยาตะวันออก ภาษาพวน ภาษาไทลื้อ ภาษาไทใหญ่ รวมไปถึงภาษาที่ใช้กันในชนเผ่าภูเขา ประกอบด้วยตระกูลภาษามอญ-เขมร เช่น ภาษามอญ ภาษาเขมร ภาษาเวียดนาม และภาษามลาบรี; ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน เช่น ภาษาจาม; ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต เช่น ภาษาม้ง ภาษากะเหรี่ยง และภาษาไตอื่น ๆ เช่น ภาษาผู้ไท ภาษาแสก เป็นต้น
ภาษาอังกฤษและอักษรอังกฤษมีสอนในระดับโรงเรียนและมหาวิทยาลัย แต่จำนวนผู้ที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้คล่องในประเทศไทยยังคงมีจำนวนน้อยอยู่ และส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตเมืองและในครอบครัวที่มีการศึกษาดีเท่านั้น ซึ่งในด้านความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษนั้น จากที่ประเทศไทยเคยอยู่ในระดับแนวหน้าในปี พ.ศ. 2540 แต่เมื่อกลางปี พ.ศ. 2549 ไทยกลับล้าหลังประเทศลาวและประเทศเวียดนาม
    10. เศรษฐกิจ
           1. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ อันเนื่องมาจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ
            - คนไทยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
            - ค่าเงินบาทแข็งเกินไป
            - ความสามารถในการแข่งกับตลาดต่างประเทศต่ำลง
          2. เสถียรภาพทางเศรษฐกิจต่ำ
          3. ยังคงมีปัญหาเรื่องความยากจนและการกระจายรายได้
          4. คุณภาพชีวิตประชากร
             - อัตราการเพิ่มประชากรลดลง ทำให้โครงสร้างประชากรเปลี่ยนไป (วัยเด็กลดลงวัยอื่นๆเพิ่มขึ้น)
             - อายุขัยประชากรเพิ่มขึ้น
             - อัตราการตายของทารกแรกเกิดน้อยลง
             - อัตราทุกโภชนาการน้อยลงรวดเร็วมาก
          5. การศึกษาพัฒนาไปเร็ว
  แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในอนาคต       แนวโน้มเศรษฐกิจโลก
    1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีบรรยากาศที่เหมาะแก่การลงทุน อันเนื่องมาจาก
        - ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
        - ค่าแรงที่ถูก
        - ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจเอื้ออำนวย
        - การหมดอายุเช่าของฮ่องกง(ปีพ.ศ. 2540) และความไม่แน่นอนของบรรยากาศทางการเมืองในไต้หวัน
    2. ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ของเอเชียต้องปรับปรุงการผลิตและต้องการลดต้นทุนจึงหันมาลงทุนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากขึ้น
    3. การรวมกลุ่มของ EU ทำให้
        - ประเทศในกลุ่มมีรายได้มากขึ้น และมีแนวโน้มจะสั่งสินค้าจากประเทศอื่นๆ
          มากขึ้นในระยะยาว
        - โลกส่วนอื่นรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจกันมากชึ้น
        - มีการต่อรองระหว่างกลุ่มประเทศต่างๆ
    4. ประเทศกลุ่มสังคมนิยมผ่อนคลายกฎเกณฑ์ลง เช่น จีน รัสเซีย
    5. ปริมาณเงินทุนและความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาลดลง
    6. อัตราราคาสินค้าเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง ขณะที่ราคาสินค้าอุตสาหกรรมมีแนวโน้มว่าอัตราจะเพิ่มขึ้น
     แนวโน้มเศรษฐกิจไทย         ยังไม่ดีขึ้น เงินยังฝืด ว่างงานสูง
        อุปสรรคในการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย
    1. การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ
    2. ความขัดแย้งทางการเมือง
    3. ระบบราชการขาดประสิทธิภาพ
    4. สาธารณูปโภคพื้นฐานขาดแคลน เช่น ท่าเรือ, น้ำเพื่ออุตสาหกรรม
    5. ขาดแคลนแรงงานบางสาขา โดยเฉพาะสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม
    ภาวะการเกษตรของไทย
        โครงสร้างการผลิตภาคเกษตรกรรม
    1. ภาคเกษตรกรรมมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ
        1.1 พืชเศรษฐกิจหลัก ได้แก่ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย และข้าวโพด ผักและผลไม้ ปศุสัตว์
        1.2 ปัจจุบัน ผลผลิตทางการเกษตรของไทยมีความหลากหลายและกระจายประเภทมากขึ้น
    2. บทบาทของภาคเกษตรกรรมไทยในปัจจุบัน
    2.1 สถิติเกี่ยวกับภาวะเกษตรของไทย
    - ผลผลิตภาคเกษตรของไทยเพิ่มขึ้น
    - อัตราการเพิ่มผลผลิตการเกษตรในผลิตภัณฑ์ประชาชาติลดลง
    - แรงงานภาคเกษตรปัจจุบันลดลง
    - รายได้ส่วนใหญ่ของครัวเรือนเกษตรกรมาจากนอกภาคเกษตร
    2.2 บทบาทของภาคเกษตรกรรมไทยมีแนวโน้มลดลงเมื่อเทียบกันกับภาคอุตสาหกรรมและบริการ เนื่องมาจาก
    - ความต้องการและราคาสินค้าเกษตรกรรมมีแนวโน้มลดลง
    - รัฐให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมมากกว่าภาคเกษตรกรรม
    - มีข้อจำกัดทางด้านทุนและที่ดิน
    ภาวะอุตสาหรรมของไทย
    1. ความเป็นมาของนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทย
    1.1 สมัยจอมพลสฤษฎ์ ธนะรัชต์ รัฐบาลไทยเริ่มให้บทบาทเอกชนในการพัฒนาอุตสาหกรรม และได้จัดแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรกขึ้น เพื่อสร้างปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจไว้รองรับ การลงทุนจากต่างชาติ
    1.2 ระยะแรกอุตสาหกรรมไทยเป็นแบบทดแทนการนำเข้า ต่อมารัฐบาลไทยหันมาส่งเสริม อุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ใน พ.ศ.2515
    1.3 ปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยได้เพิ่มขึ้น
    1.4 โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในไทยที่สำคัญ คือ โครงการพัฒนาชายฝั่งตะวันออก(ท่าเรือ แหลมฉบังและบริเวณมาบตาพุด) และโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้
    2. โครงสร้างการผลิตภาคอุตสาหกรรม
    2.1 ลักษณะสำคัญของอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบัน คือ
    1. ยังใช้แรงงานเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิต
    2. ยังขาดอุตสาหกรรมหลัก
    3. อุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังคงกระจุกตัวบริเวณ กทม. และปริมณฑล
    4.สัดส่วนรายได้ของภาคอุตสาหกรรมเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก
    5.อุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่สำคัญคือ computer
    6.ภาคอุตสาหกรรมบริการที่เจริญเติบโตรวดเร์วที่สุด คือ การท่องเที่ยว
    3. ปัญหาด้านอุตสาหกรรมของไทย
    3.1 มาตรฐานสินค้า
    3.2 บริการพื้นฐานทางเศรษฐกิจไม่เพียงพอ
    3.3 การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมบริเวณ กทม. และปริมณฑล
   11. สกุลเงิน : บาท (Baht : THB)
    12.  ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน
1.  ความสัมพันธ์ทางสังคม เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีวัตถุประสงค์ เช่น การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษา การศาสนา การท่องเที่ยว กิจกรรมที่ได้ดำเนินการ เช่น การแลกเปลี่ยนทุนการศึกษา การแสดงนาฏศิลป์ของแต่ละประเทศไปเผยแพร่ตามประเทศอื่น
2.  ความสัมพันธ์ทางการเมือง เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ระหว่าประเทศเช่น การทูต การทหาร การแทรกแซงทางการเมือง การกำหนดนโยบายระหว่างประเทศ
     3.  ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ เป็นความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการ แลกเปลี่ยนทรัพยากร หรือ บริการ เช่นการซื้อขาย การกู้ยืม ประเทศไทยมีความต้องการด้านอุตสาหกรรม และเทคโนโลยีใหม่ ในขณะเดียวกัน ประเทศทางยุโรปต้องการวัตถุดิบและน้ำมันจากตะวันออกกลาง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ รวมถึงการตั้งกฎเกณฑ์ในเรื่องภาษีศุลกากร รวมทั้งการปิดล้อมทางเศรษฐกิจ
      4.  ความสัมพันธ์ทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นความสัมพันธ์ที่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนพัฒนาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีในการใช้ประโยชน์ร่วมกันในการแก้ปัญหาของชาวโลก เช่น การส่งเสริมค้นคว้า ทดลองด้านวิทยาศาสตร์ในการป้องกันโรคมะเร็ง หรือการประชุมสัมมนาด้านวิทยาศาสตร์ ระหว่างประเทศ
      5.  ความสัมพันธ์ทางกฎหมาย เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างพรมแดนมากขึ้น ปัญหาหรือการกำหนดสิ่งที่ปฏิบัติ
ร่วมกันต้องเกิดขึ้น เช่น เกิดสัญญา กติกา หรือข้อตกลงเกี่ยวกับน่านน้ำสากลระหว่างไทยกับเวียดนาม
เป็นต้น

กลุ่มอาเซียน

เขตการค้าเสรีของอาเซียน

       รากฐานของการก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเริ่มต้นมาจากเขตการค้าเสรีอาเซียนซึ่งเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรเพื่อให้สินค้าภายในอาเซียนเกิดการหมุนเวียน เขตการค้าเสรีอาเซียนเป็นข้อตกลงโดยสมาชิกกลุ่มอาเซียนซึ่งกังวลต่อผลิตภัณฑ์หัตถกรรมท้องถิ่นของตน ได้รับการลงนามในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิก 10 ประเทศ คือ บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และไทย เวียดนาม (เข้าร่วมในปี 2538) ลาว พม่า (เข้าร่วมในปี 2540) และกัมพูชา (เข้าร่วมในปี 2542)

      เขตการลงทุนร่วม

      เขตการลงทุนร่วมมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนหมุนเวียนภายในอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยหลักการดังต่อไปนี้:
  • เปิดให้อุตสาหกรรมทุกรูปแบบเกิดการลงทุนและลดขั้นตอนตามกำหนดการ
  • ทำสัญญากับผู้ลงทุนในกลุ่มอาเซียนที่เขามาลงทุนในทันที
  • กำจัดการกีดขวางทางการลงทุน
  • ปรับปรุงกระบวนการและระเบียบการลงทุนให้เกิดความคล่องตัว
  • สร้างความโปร่งใส
  • ดำเนินการตามมาตรการอำนวยความสะดวกในการลงทุน
       ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากเขตการลงทุนร่วมจะเป็นการกำจัดการกีดกันในกิจการเกษตรกรรม การประมง การป่าไม้และการทำเหมืองแร่ ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จภายในปี พ.ศ. 2553 สำหรับประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียนเป็นส่วนใหญ่ และคาดว่าจะสำเร็จในปี พ.ศ. 2558 สำหรับประเทศกัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม
       การแลกเปลี่ยนบริการ
        ข้อตกลงการวางกรอบเรื่องการแลกเปลี่ยนบริการเริ่มต้นขึ้นในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่กรุงเทพมหานครในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2548ภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว รัฐสมาชิกของกลุ่มอาเซียนจะสามารถประสบความสำเร็จในการเจรจาอย่างเสรีในด้านการแลกเปลี่ยนบริการ โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างกันมากขึ้น ผลของการเจรจาการแลกเปลี่ยนบริการซึ่งได้เริ่มดำเนินการตามหมายกำหนดการเป็นรายเฉพาะจะถูกรวมเข้ากับกรอบข้อตกลง ซึ่งหมายกำหนดการดังกล่าวมักจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการ ในปัจจุบัน พบว่ามีกลุ่มการแลกเปลี่ยนบริการจำนวนเจ็ดกลุ่มภายใต้กรอบข้อตกลงดังกล่าว
      ตลาดการบินเดียว
        แนวคิดเรื่องตลาดการบินเดียวเป็นความคิดเห็นที่เสนอโดยกลุ่มงานขนส่งทางอากาศอาเซียน ได้รับการสนับสนุนในการประชุมการขนส่งอย่างเป็นทางการของอาเซียน และได้รับการอนุมัติโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคมนาคมของรัฐสมาชิก ซึ่งจะนำไปสู่การจัดระเบียบน่านฟ้าเปิดในภูมิภาคภายในปี พ.ศ. 2558 โดยตลาดการบินเดียวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการคมนาคมทางอากาศระหว่างรัฐสมาชิกเป็นไปอย่างเสรี ซึ่งสร้างประโยชน์ให้กับกลุ่มอาเซียนจากการเติบโตของการเดินทางทางอากาศในปัจจุบัน และยังเป็นการเพิ่มการท่องเที่ยว การค้า การลงทุนและการบริการให้กับรัฐสมาชิกทั้งหมด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ข้อจำกัดเสรีภาพทางอากาศที่สามและที่สี่ระหว่างเมืองหลวงของรัฐสมาชิกสำหรับบริการสายการบินจะถูกยกเลิก ในขณะที่หลังจากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2552 จะมีเสรีภาพบริการการบินในภูมิภาค และภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 จะมีการเปิดเสรีเสรีภาพทางอากาศข้อที่ห้าระหว่างเมืองหลวงทั้งหมดข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่มอาเซียน
        อาเซียนได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศภายนอกหลายประเทศ ทั้งจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และล่าสุด อินเดียข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศจีนได้สร้างเขตการค้าเสรีจีน-อาเซียน ในปัจจุบัน อาเซียนนั้นกำลังเจรจากับสหภาพยุโรปในการที่จะทำการค้าเสรีด้วยกัน ผลดีของข้อตกลงนั้น คือการเปิดโอกาสการค้าของอาเซียน ให้มีศักยภาพและขยายตัวมากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนจากต่างชาติด้วย ไต้หวันยังแสดงความสนใจที่จะทำข้อตกลงกับอาเซียน แต่ได้รับการคัดค้านทางการทูตจากประเทศจีน

       ความร่วมมือทางสังคมวัฒนธรรม

       ความร่วมมือทางวัฒนธรรมนั้น มีจุดประสงค์เพื่อที่จะช่วยสร้างภาพรวมในด้านต่างๆให้ดีขึ้น โดยการให้การสนับสนุน ทั้งการกีฬา การศึกษา และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งได้แก่ความร่วมมือต่างๆดังนี้
       ความสำเร็จด้านเศรษฐกิจของอาเซียน
      อาเซียนได้พยายามศึกษาหาแนวทาง  และมาตรการที่จะขยายการค้าระหว่างกันให้มากยิ่งขึ้น     โดยเฉพาะ การเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกัน  โดยใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากัน (Common Effective Preferential Tariff : CEPT) สำหรับสินค้าของอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เมื่อเดือนมกราคม 2535  ณ ประเทศสิงคโปร์  จึงได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของไทย โดยนายกรัฐมนตรี อานันท์ ปันยารชุน      ในการเริ่มจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA) ตามกรอบความตกลงแม่บท  ว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation)  และความตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรี     อาเซียน [Agreement on the Common Effective Preferential Tariff (CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA)]
        ในขณะนั้น อาเซียนมีสมาชิกเพียง 6 ประเทศ  ได้แก่ บรูไน ดารุสซาลาม  อินโดนีเซีย มาเลเซีย      ฟิลิปปินส์  สิงคโปร์ และไทย ต่อมาภายหลังอาเซียนได้ขยายจำนวนสมาชิกเป็น 10 ประเทศ โดยมีเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกในปี 2538 ลาวและพม่า ในปี 2540 และกัมพูชาในปี 2542 
·            หลักการของอาฟต้า
        อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายที่จะลดภาษีศุลกากรระหว่างกันลงเหลือร้อยละ 0-5   รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีภายในเวลา 15 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2536 และสิ้นสุด 1 มกราคม 2551  ต่อมาในปี 2537 อาเซียนได้เร่งรัดการดำเนินงานอาฟต้าจากเดิม 15 ปี เป็น 10 ปี คือ ให้ลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายใน มกราคม 2546  รวมทั้งให้นำสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูปในรายการที่เคยได้รับการยกเว้นการลดภาษีเป็นการชั่วคราวและสินค้าเกษตรไม่แปรรูป เข้ามาลดภาษีภายใต้อาฟต้าด้วย
            กำหนดการลดภาษี
สินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป แบ่งออกเป็น 2 บัญชี
       1.  บัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL)  แยกเป็น 2 ประเภท
             1.1  สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track)  จะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี  (1 มกราคม 2543 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2543-2550 สำหรับสมาชิกใหม่) ประกอบด้วย สินค้า 15 กลุ่ม ได้แก่ น้ำมันพืช  เคมีภัณฑ์ ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ยาง เยื่อกระดาษ  ผลิตภัณฑ์เซรามิคและแก้ว  แคโทดที่ทำจากทองแดง เฟอร์นิเจอร์ไม้และหวาย ปูนซีเมนต์  เภสัชภัณฑ์  พลาสติก  ผลิตภัณฑ์หนัง  สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
             1.2  สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) จะต้องลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี (1 มกราคม 2543 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่)
         2.  บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL)

                สมาชิกสามารถขอยกเว้นการลดภาษีชั่วคราวสำหรับสินค้าบางรายการได้  โดยนำสินค้านั้น  ไว้ในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว  แต่ต้องเริ่มทยอยนำเข้ามาลดภาษีปีละ 20% ของจำนวนรายการที่ขอยกเว้นทั้งหมด โดยเริ่มนำเข้ามาลดภาษีช้ากว่ารายการใน IL 3 ปี และลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี (ลดภาษี 1 มกราคม 2539-1 มกราคม 2546 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2542-2546 ถึง 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่)

สำหรับสินค้าเกษตรไม่แปรรูป  เริ่มนำเข้ามาลดภาษีช้ากว่าสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป คือ เริ่มในปี 2539 (สมาชิกเดิม) และปี 2542-2546 (สมาชิกใหม่) แต่จะต้องสิ้นสุดพร้อมกันกับสินค้าอุตสาห-กรรมและเกษตรแปรรูป คือ ในปี 2546 (สมาชิกเดิม) และปี 2549-2553 (สมาชิกใหม่) ยกเว้น สินค้าอ่อนไหวและอ่อนไหวสูง ทั้งนี้ การลดภาษีแบ่งออกเป็น 3 บัญชี  ได้แก่
1.  บัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL)  ประเทศสมาชิกจะต้องลดภาษีสินค้าในบัญชีนี้  ลงเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 7 ปี (1 มกราคม 2539-1 มกราคม 2546 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2542-2546 ถึง 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่)
2.  บัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) ประเทศสมาชิกสามารถขอยกเว้นการลดภาษีสินค้าเกษตรไม่แปรรูปเป็นการชั่วคราวได้  โดยจัดสินค้าไว้ในบัญชียกเว้นลดภาษี    ชั่วคราว  แต่ต้องทยอยนำสินค้าในบัญชีนี้เข้ามาลดภาษีในแต่ละปีเป็นจำนวนเท่า ๆ กัน และลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 6 ปี โดยเริ่มลดภาษีช้ากว่าสินค้าใน IL 1 ปี และสิ้นสุดพร้อมกับ IL (1 มกราคม 2540- 1 มกราคม 2546 สำหรับสมาชิกเดิม และ 1 มกราคม 2543-2547 ถึง 1 มกราคม 2549-2553 สำหรับสมาชิกใหม่
3.  บัญชีอ่อนไหว (Sensitive  List : SL)  จะนำเข้ามาลดภาษีช้าที่สุด  และต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0-5 ภายในเวลา 10 ปี  รวมทั้งมีมาตรการพิเศษอื่น ๆ ยกเว้นสินค้าอ่อนไหวสูง (Highly Sensitive List : HSL) คือ ข้าว  ซึ่งมีอัตราภาษีสุดท้ายสูงกว่าร้อยละ 5 และมีมาตรการคุ้มกันพิเศษได้  มี 3 ประเทศ   ที่มีสินค้าอ่อนไหวสูง ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
 
         6.   สัญลักษณ์ของกฎบัตรอาเซียน
       สำนักงานใหญ่ของอาเซียน
            ตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียโดยให้ตัวแทนของประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเลขาธิการ

ความเป็นมาของการรวมกลุ่มอาเซียน

ความเป็นมาของการรวมกลุ่มอาเซียน
1.  ความเป็นมาของการรวมกลุ่มอาเซียน
          การจัดตั้งอาเซียน
         อาเซียนก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2513 อันเป็นผลจากการประชุมที่กรุงเทพฯ โดยสมาชิกก่อตั้งของสมาคมฯมี 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ได้ลงนามในปฏิญญากรุงเทพแสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมกันและจำนวนสมาชิกจะคงอยู่เท่านี้มาอีก 17 ปี ในวันที่ 8 มกราคม 2527 บรูไน ดารุสซาลัมจึงเข้ามาร่วมเป็นสมาชิกประเทศที่ 6 และจากนั้นเวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกเมื่อ 28 กรกฎาคม 2538 ลาวและพม่าเมื่อ 23 กรกฎาคม 2540 กัมพูชาเมื่อ 30 เมษายน 2542 รวม 10 ประเทศ ปัจจุบันอาเซียนมีประชากรรวม 503 ล้านคน มีดินแดนรวมกัน 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมมูลค่า 737 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการค้ารวม 720 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
         เมื่อแรกนั้นประเทศสมาชิกก่อตั้งแสดงเจตนารมณ์ว่ามีความประสงค์ให้อาเซียนเป็นเวทีความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคและเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันด้านเศรษฐกิจ แต่ในข้อเท็จจริงแล้วอาเซียนมีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจน้อยมากจนกระทั่ง 10 ปีให้หลังคือในปี 2520จึงได้เริ่มมีการดำเนินการจริงจังตามเจตนารมณ์ของการก่อตั้งอาเซียนโดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ประชุมกันที่กรุงมะนิลา และบรรลุข้อตกลงเป็นครั้งแรกที่จะเจรจาลดภาษีศุลกากรเป็นรายสินค้า ซึ่งแม้ว่าจะดูเป็นการเคลื่อนไหวที่ช้ามากสำหรับการที่จะเปิดประเทศรองรับการค้าเสรี แต่ข้อตกลงดังกล่าวเป็นผลมาจากการประนีประนอมระหว่างประเทศที่มีความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรมกับประเทศที่อุตสาหกรรมยังล้าหลัง ซึ่งฝ่ายหลังนี้อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสมาชิกที่มีประชากร 120 ล้านคนตกอยู่ในฐานะดังกล่าวด้วย แต่พํฒนาการของอาเซียนดังกล่าวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีนัยสำคัญ จนกระทั่งเข้าสู่ศควรรษใหม่ ในเดือนตุลาคม 2546 ในการประชุมระดับผู้นำอาเซียนที่เมืองบาหลีประเทศอินโดนีเซียได้มีการประกาศเจตนารมณ์ที่จะจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ ความมั่นคง สังคมและวัฒนธรรมอาเซียนขึ้น ซึ่งได้นับการสนับสนุนจากประชาคมโลกทั่วไปโดยเฉพาะสหภาพยุโรป ซึ่งมีประสบการณ์ในการบูรณาการประเทศต่างๆเข้าด้วยกันมาก่อน
     2. สมาชิกของกลุ่มอาเซียน
         สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน (ASEAN) เป็นองค์การทางภูมิศาสตร์การเมืองและองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมมือกันในการเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม การพัฒนาวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในพื้นที่และเป็นการเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ
         3. วัตถุประสงค์ของอาเซียน (ASEAN )
             จากสนธิสัญญาความสามัคคีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จำนวนหกข้อ ดังนี้
             1. ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด
             2. รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอก การรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญ
             3. จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆ
             4. ยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติ
             5. ประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กำลัง
             6. ให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
     4 . ปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) ได้ระบุว่า
         เป้าหมายและจุดประสงค์ของอาเซียน 
          1) เร่งรัดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและการพัฒนาวัฒนธรรมในภูมิภาค
          2) ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค โดยการเคารพหลักความยุติธรรมและ หลักนิติธรรมในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาค ตลอดจนยึดมั่นในหลักการแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ  

     5. "กฎบัตรอาเซียน" แยกตามเสาหลักที่สำคัญทั้ง 3 เสา อาจสรุปให้เห็นเป็นสังเขป ดังนี้
         1. เสาหลักด้านการเมืองและความมั่นคงของภูมิภาคอาเซียน เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ได้แก่ สนับสนุนส่งเสริม สันติภาพ ความมั่นคง การปกครองแบบประชาธิปไตย การปกครองแบบธรรมาภิบาล การส่งเสริมให้บรรลุความเจริญร่วมกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ประชาคมเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง มีพลวัตร และยืดหยุ่นได้ในการตั้งรับภาวะผันผวนของเศรษฐกิจ มีหลักประกันที่จะทำให้เกิดสันติสุขในอาเซียน
         2. เสาหลักทางด้านเศรษฐกิจ มีการเน้นมุ่งพัฒนาให้เป็นตลาดร่วม (Single Market) และเป็นฐานการผลิตอันเดียวกัน (Single Production Base) ซึ่งจะต้องมีการไหลเวียนของสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานฝีมือทั่วทั้งภูมิภาคของประชาคมอาเซียนมีเงินทุนไหลเวียนโดยเสรี และมีสถานะการพัฒนาทางเศรษฐกิจในหมู่สมาชิกประชาคมที่เท่าเทียมกันรวมทั้งเสริมสร้างเศรษฐกิจที่เจริญเติบโตอย่างมีเสถียรภาพด้านการเงิน การประสานในด้านนโยบายเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ มีกฎระเบียบที่ดีด้านการเงิน ทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายการแข่งขันทางการค้า และการคุ้มครองผู้บริโภคทั้งประชาคมโดยกำหนดจะให้เร่งพัฒนาพร้อมเป็น "ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน" ให้ได้เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมในปี2563 มาเป็นในปี 2558 แทน หรือเร็วขึ้นจากเดิมอีก 5 ปี
         3. เสาหลักทางสังคมและวัฒนธรรมของประชาคมอาเซียน จะพุ่งเป้าไปที่การทำให้เห็นความสำคัญของประชากรในอาเซียน และเป็นสัมพันธภาพระหว่างประชากรของชาติหนึ่งไปสู่ประชากรของอีกชาติหนึ่ง รัฐสภาของ 10 ประเทศ จะประสานร่วมมือกันในกิจกรรมต่างๆ สมาชิกของประชาสังคมของสมาชิกจะไปมาหาสู่กันแลกเปลี่ยนใกล้ชิดระหว่างบุคลากรด้านการศึกษา สถาบันต่างๆ และภาคธุรกิจภาคเอกชนในประเทศสมาชิก รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์ของบุคคลชั้นมันสมอง มืออาชีพ ศิลปิน นักเขียนและสื่อสารมวลชนของทั้ง 10 ประเทศ
      ลักษณะเด่นของกฎบัตรอาเซียนจะมีถ้อยคำที่ให้ตีความได้กว้างขวาง ยืดหยุ่น ทั้งในเชิงเป้าหมายและผลของการดำเนินการ อาเซียนมีวัฒนธรรมการตัดสินใจเช่นนี้ คือมีช่องให้ขยับขยายได้ ตีความได้

กฎหรือธรรมนูญอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) หรือธรรมนูญอาเซียน

กฎบัตรอาเซียน เปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนมีสถานะเป็นนิติบุคคล เป็นการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรให้กับอาเซียน โดยนอกจากจะประมวลสิ่งที่ถือเป็นค่านิยม หลักการ และแนวปฏิบัติในอดีตของอาเซียนมาประกอบกันเป็นข้อปฏิบัติอย่างเป็นทางการของประเทศสมาชิกแล้ว ยังมีการปรับปรุงแก้ไขและสร้างกลไกใหม่ขึ้น พร้อมกำหนดขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรที่สำคัญในอาเชียนตลอดจนความสัมพันธ์ในการดำเนินงานขององค์กรเหล่านี้ ให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวของประชาคมอาเซียน ให้ได้ภายในปี พ.ศ.2558 ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้
ทั้งนี้ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองกฎบัตรอาเซียน ในการประชุมสุดยอดยอดเซียน ครั้งที่ 13เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2550 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในโอกาสครบรอบ 40 ของการก่อตั้งอาเซียน แสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังแสดงให้ประชาคมโลกได้เห็นถึงความก้าวหน้าของอาเซียนที่กำลังจะก้าวเดินไปด้วยกันอย่างมั่นใจระหว่างประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั้ง 10 ประเทศ และถือเป็นเอกสารประวัติศาสตร์ชิ้นสำคัญที่จะปรับเปลี่ยนอาเซียนให้เป็นองค์กรที่มีสถานะเป็นนิติบุคคลในฐานะที่เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศแล้วเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน2551 กฎบัตรอาเซียนจึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2551 เป็นต้นไป

วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์อของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิกาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรอาเซียนจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (intergovernmental organization)
โครงสร้างและสาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
กฏบัตรอาเชียน ประกอบด้วยบทบัญญัติ 13 หมวด 55 ข้อ ได้แก่
หมวดที่ 1 ความมุ่งประสงค์และหลักการของอาเซียน
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฏหมายของอาเชียน
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ (รัฐสมาชิก สิทธิและพันธกรณีของรัฐสมาชิก และการรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 โครงสร้างองค์กรของอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 การคุ้มกันและเอกสิทธิ์
หมวดที่ 7 กระบวนการตัดสินใจ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท
หมวดที่ 9 งบประมาณและการเงิน
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ของอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์กับภายนอก
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรม และผลักดันอาเซียนให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
กฎบัตรอาเชียนช่วยให้อาเซียนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไร มีข้อกำหนดใหม่ๆ ที่ช่วยปรับปรุงโครงสร้างการทำงานและกลไกต่างๆ ของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มความยืดหยุ่นในการแก้ไขปัญหา เช่น
1. กำหนดให้เพิ่มการประชุมสุดยอดอาเซียนจากเดิมปีละ 1 ครั้ง เป็นปีละ 2 ครั้ง เพื่อให้ผู้นำมีโอกาสหารือกันมากขึ้น พร้อมทั้งแสดงให้เห็นถึงเจตจำนงทางการเมืองที่จะผลักดันอาเซียนไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมในอนาคต
2. มีการตั้งคณะมนตรีประจำประชาคมอาเซียนตามเสาหลักทั้ง 3 ด้าน คือ การเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
3. กำหนดให้ประเทศสมาชิกแต่งตั้งเอกอัคราชฑูตประจำอาเซียนไปประจำที่กรุงจาการ์ตา ซึ่งไม่เพียงแต่จะแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจแนวแน่ของอาเซียนที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งไปสู่การรวมตัวกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประสานงานระหว่างประเทศสมาชิก
4. หากประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้โดยหลักฉันทามติ ให้ใช้การตัดสินใจรูปแบบอื่นๆ ได้ตามที่ผู้นำกำหนด
5. เพิ่มความยืดหยุ่นในการตีความหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายใน โดยมีข้อกำหนดว่าหากเกิดปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ส่วนร่วมของอาเซียน หรือเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเทศสมาชิกต้องหารือกันเพื่อแก้ปัญหา และกำหนดให้ประธานอาเซียนเสนอวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

กฎบัตรอาเซียนจะเสริมสร้างกลไกการติดตามความตกลงต่างๆ ให้มีผลเป็นรูปธรรมได้อย่างไร
กฎบัตรอาเซียนสร้างกลไกตรวจสอบและติดตามการดำเนินการตามความตกลงต่างๆ ของประเทศสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ เช่น
1. ให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนดูแลการปฏิบัติตามพันธกรณีและคำตัดสินขององค์กรระงับข้อพิพาท
2. หากการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงต่างๆ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างรัฐสมาชิกสามารถใช้กลไกและขั้นตอนระงับข้อพิพาททั้งที่มีอยู่แล้ว และที่จะตั้งขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นโดยสันติวิธี
3. หากมีการละเมิดพันธกรณีในกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง ผู้นำอาเซียนสามารถกำหนดมาตรการใดๆ ที่เหมาะสมว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีกฎบัตรอาเซียนช่วยให้อาเซียนเป็นประชาคมเพื่อประชาชนได้อย่างไรข้อบทต่างๆ ในกฎบัตรอาเซียนแสดงให้เห็นว่าอาเซียนกำลังผลักดันองค์กรให้เป็นประชาคมเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง จึงกำหนดให้การลดความยากจนและลดช่องว่างการพัฒนาเป็นเป้าหมายหนึ่งของอาเซียนกฎบัตรอาเซียนเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในอาเซียนผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรต่างๆ ของอาเซียนมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสมัชชารัฐสภาอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐสภาของประเทศสมาชิกกำหนดให้มีการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน

ความสำคัญของกฎบัตรอาเซียนต่อประเทศไทย
กฎบัตรอาเซียน ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามพันธกรณีต่างๆ ของประเทศสมาชิก ซึ่งจะช่วยสร้างเสริมหลักประกันให้กับไทยว่า จะสามารถได้รับผลประโยชน์ตามที่ตกลงกันไว้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย นอกจากนี้ การปรับปรุงการดำเนินงานและโครงสร้างองค์กรของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเสริมสร้างความร่วมมือในทั้ง 3 เสาหลักของประชาคมอาเซียนจะเป็นฐานสำคัญที่จะทำให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อความต้องการและผลประโยชน์ของรัฐสมาชิก รวมทั้งยกสถานะและอำนาจต่อรอง และภาพลักษณ์ของประเทศสมาชิกในเวทีระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะเอื้อให้ไทยสามารถผลักดันและได้รับผลประโยชน์ด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้นด้วย ตัวอย่างเช่น
- อาเซียนขยายตลาดให้กับสินค้าไทยจากประชาชนไทย 60 ล้านคน เป็นประชาชนอาเซียนกว่า 550 ล้านคน ประกอบกับการขยายความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เช่น เส้นทางคมนาคม ระบบไฟฟ้า โครงข่ายอินเตอร์เน็ต ฯลฯ จะช่วยเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนให้กับไทย
นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นทั้งแหล่งเงินทุนและเป้าหมายการลงทุนของไทย และไทยได้เปรียบประเทศสมาชิกอื่นๆ ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน สามารถเป็นศูนย์กลางทางการคมนาคมและขนส่งของประชาคม ซึ่งมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และบุคคล ระหว่างประเทศสมาชิกที่สะดวกขึ้น
- อาเซียนช่วยส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อเผชิญกับภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยตรง เช่น SARs ไข้หวัดนก การค้ามนุษย์ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ หมอกควัน ยาเสพติดปัญหาโลกร้อน และปัญหาความยากจน เป็นต้น
- อาเซียนจะช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองของไทยในเวทีโลก และเป็นเวทีที่ไทยสามารถใช้ในการผลักดันให้มีการแก้ไขปัญหาของเพื่อนบ้านที่กระทบมาถึงไทยด้วย เช่น ปัญหาพม่า ในขณะเดียวกันความสัมพันธ์พหุภาคีในกรอบอาเซียนจะเกื้อหนุนความสัมพันธ์ของไทยในกรอบทวิภาคี เช่น ความร่วมมือกับมาเลเซียในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วย


อ่านต่อ: http://www.thai-aec.com/asean-charter#ixzz28LZSzArd

เมืองหลวงของอาเซียน

เมืองหลวง @ อาเซียน
มาดูเมืองหลวงของประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนกันครับ

 1.บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน ประชากรประมาณ 60,000 คน

2.กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย ประชากร 5,702,595 คน

3.ดิลี ประเทศติมอร์ - เลสเต ประชากรประมาณ 150,000 คน

4.จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ประชากร 8,489,910 คน

5.กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ประชากร 1,479,388 คน

6.มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ประชากร 1,581,082 คน

7.เนปีดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า ประชากรประมาณ 925,000 คน

8.พนมเปญ ประเทศกัมพูชา ประชากร 2,000,000 คน

9.สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์ ประชากรประมาณ 4,240,000 คน

 10.เวียงจันทน์ ประเทศลาว ประชากรประมาณ 730,000 คน

11.ฮานอย ประเทศเวียดนาม ประชากรประมาณ 4,100,000 คน
1
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน




1
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

2
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

3
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

4
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

5
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

6
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

7
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

8
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

9
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

1
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

2
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

3
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

4
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

5
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

6
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

7
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

8
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

9
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

1
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน



1
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

2
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

3
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

4
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

5
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

6
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

7
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

8
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

9
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

1
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

2
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

3
เมืองหลวง @ อาเซียน : บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน
บันดาร์เสรีเบกาวาน ประเทศบรูไน

4
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

5
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

6
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

7
เมืองหลวง @ อาเซียน : กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย

8
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

9
เมืองหลวง @ อาเซียน : ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต
ดิลี ประเทสติมอร์-เลสเต

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : เนปีดอว์ ประเทศพม่า
เนปีดอว์ ประเทศพม่า

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : พนมเปญ ประเทศกัมพูชา
พนมเปญ ประเทศกัมพูชา

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์ ประเทศสิงคโปร์

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : เวียงจันทน์ ประเทศลาว
เวียงจันทน์ ประเทศลาว

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม

เมืองหลวง @ อาเซียน : ฮานอย ประเทศเวียดนาม
ฮานอย ประเทศเวียดนาม